โรคราเน่าที่เกิดขึ้นกับต้นแคคตัส,โรคต้นเน่า,แคคตัสรากเน่า,อาการรากเน่าในแคคตัส,โรครากเน่า

เนื่องจากโรคกับต้นพืชโดยเฉพาะทีเรารัก ทำให้เราต้องมาปวดหัวเป็นอย่างมากเมื่อเห็น แล้วเราจะหาวิธีแก้กันอย่างไร เมื่อเกิดปัญหา หรือเราจะหาวิธีป้องกันอย่างไรให้ต้นแคคตัสเรารอดหรือพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างไร สวนคุณยายน้องข้าวปั้น กาญจนบุรี

เรามาดูกันว่าโรคที่เราเห็นรากเน่านี้เป็นอย่างไร

โรครากเน่าหรือโรครา เกิดจากเชื้อราหลากหลายชนิด
เช่น Phytophthora spp. หรือ เห็ดราใน Class Ascomycetes และ Basidiomycetes  โรคราคเน่าและราเน่า โรคเหล่านี้ส่วนใหญ่จะระบาดในฤดูฝน ในสภาพที่มีความชื้นสูง โดยการระบาดจะแพร่โดยสปอร์เชื้อราทำให้ไปได้ง่าย หากพื้นที่ปลูกมีความชื้นและแฉะตลอดเวลา

อาการ
สำหรับต้นแคคตัสที่โดนราเน่านี้เราดูยังไง
ไม้อวบน้ำจะเห็นว่าเป็นนิ่มๆ ลำต้นหรือรูปร่างจะเหลีืองซีดจากกลีบหรือลำต้น ลำต้นนิ่มๆ
กลุ่มไม้หนามก็จะนิ่มๆ ไม่มีการเจริญเติบโต หนามไม่เงา ไม่ออกออกหรือซีดเหลืองผิดปกติ เหมือนกันกับขาดน้ำ แต่ถ้าเราให้น้ำไปจะไม่สดชื่น และยังคงสภาพเดิม

สาเหตุ
  • เกิดจากความชื้นมากเกินไป
    • การให้น้ำมากเกิน หรือบ่อยเกินไป 
    • วางหรือตั้งบริเวณที่ไม่มีที่ระบายน้ำ ทำให้มีความชื้นมาก
    • การวางในที่อับแสง หรือโดนแสงแดดน้อยสำหรับไม้บางชนิด
  • สภาพอากาศ
    • ฤดูฝนจะเป็นสิ่งที่โรคเน่าหรือรากเน่าจะเกิดเยอะมาก
    • ฝนตกโดนละอองหรือน้ำฝน
  • ดิน
    • ดินแน่นไม่ระบายน้ำ
    • ไม่ค่อยได้เปลี่ยนดินให้แคคตัสทำให้ดินแข็ง หรือเก็บเชื้อโรค
  • การให้ปุ่ยหรือยามากเกินไป
    • รากแคคตัสสำหรับต้นเล็กๆ หรือใหญ่ที่ได้รับปุ๋ยหรืออาหารเสริมอื่นๆมากเกินไป
  • แหล่งที่มีเชื้อราเน่า โรคเน่า
    • หากมีการระบาดหรือแหล่งที่ระบาดควรที่จะให้ความสำคัญก่อนที่จะนำไปวางหรือตั้ง
  • สภาพโรงเรือน
    • หลังคาไม่โปร่ง แสงแดดเข้าถึงได้น้อย หรือการถ่ายเทอากาศไม่ดี

การแก้ปัญหา
  • ให้แยกออกจากพื้นที่ถ้าเสียหายมากให้นำไปทำลายหรือทิ้ง เช่นฝัง กลบ
  • กรณีที่เสียหายน้อย ให้ตัดผิวหรือเนื้อเสียทิ้ง แล้วทิ้งไว้ดุอาการ 3-4 วันในกรณีต้นใหญ่อาจจะทิ้งไว้นาน
  • พ่นยาเคมี ยาปัองกันเชื้อรา มีหลายยี่ห้อแต่จะอยู่ในกลุ่มดังนี้
ออร์โธ่ไซด์ หรือชื่อสามัญว่า แคปแทน  ให้ผลในทางป้องกันและกำจัด
โรคพืชที่กำจัดได้  โรคเน่าดำ  โรคเน่าสีน้ำตาล โรคใบจุด รคราน้ำค้าง โรคใบไหม้ แอนแทรคโนส เน่าคอดิน  ห้ามผสมกับสารเคมีที่เป็นด่างและน้ำมัน
..
คาร์เบ็นดาซิม  เป็นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมทั้งทางใบและทางรากให้ผลในทางป้องกันและรักษา
โรคพืชที่กำจัดได้   โรคใบไหม้ กาบใบแห้ง ราแป้ง ใบจุด แอนแทรโนส โรคใบจุดดำ
ซึ่งคาร์เบ็นดาซิม มีผลขัดขวางหรือยับยั้งการเพ่มปริมาณของไรได้ด้วย

แมนโคเซ็บ  ออกฤทธิ์ในทางป้องกันโรคพืช มีความคงตัวมาก
โรคพืชที่กำจัดได้   แอนแทรกโนส  ไฟทอปทอร่า ราน้ำคาง  เน่าดำ  เน่าสีน้ำตาล เซอร์โคสปอร่า(ใบปื้นเหลืองในกล้วยไม้) ราสนิม ให้ผลดีที่สุดในการป้องกันโรคพืช

เมตาแลกซิล  เป็นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
โรคพืชที่กำจัดได้   รากเน่า  โคนเน่า โรคลำต้นดำ  ราน้ำค้าง  หรือโรคอื่นๆที่เกิดจากเชื้อราชั้นต่ำ เช่น ไฟทอปทอร่า  พิเที่ยม การใช้ยาราตัวนี้ตัวเดียวนานๆ อาจทำให้เกิดเชื้อราพันธุ์ต้านทานขึ้นมาได้

การใช้งาน แต่เราตัดส่วนที่เสียของแคคตัสออก แล้วทายา หรือจะพ่นกันทั้งแปลงก็ได้ แต่อย่าลืมอ่านฉากให้ชัดเจนว่าทำอย่างไร

"การใช้สารเคมีเป็นสิ่งอันตรายควรให้ความสำคัญ
เรื่องความปลอดภัยกับคนหรือสิ่งของที่เราใช้งาน
รักษาความสะอาดและป้องกันขณะที่เราใช้ยาเคมี
นะครับ"

สำหรับคนที่ไม่ชอบเคมีก็จะแนะนำ
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ของมหาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ลองๆ ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วนำมาเลือกใช้กันเอาเองตามความเหมาะสมนะครับ

  • การทำโรงเรือน หรือที่วางต้นไม้ให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก สบาย หรือมีที่คลุมกันฝน หรือป้องกันเชื้อโรคจากภายนอกมากทำลายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย ทำเอง ปลอดภัย
.....................................................
ขอบคุณครับที่ตั้งใจอ่านซะยาว
นายกะเสดตะกอน
สวนคุณยายน้องข้าวปั้น กาญจนบุรีี
0851969056,0860447460